ภาพงาน Home Builder Expo&Material
 งานทำบุญออฟฟิต ครบรอบ 13 ปี
 งาน Home Builder Focus 2017
 งาน Home Builder Expo 2016
 อบรม ISO 9001 เวอร์ชั่น 2015
 
 ภาพส่งมอบบ้านให้ลูกค้า
 ภาพงาน Home Builder Expo 2014
 ภาพงาน Home Builder Focus 2014
 ภาพงาน Focus 2013
 ภาพงาน Home builder expo 2013
 สัมมนาวิชาการของบริษัท เรื่อง "การทำความเข้าใจคู่มือลูกค้า"
 ภาพงานรับสร้างบ้าน 2012
 ภาพงานรับสร้างบ้าน 2011
 ภาพงานสถาปนิก 2011
 ภาพงานรับสร้างบ้าน 2010

 

 
 สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้ที่คิดจะมีบ้าน


1. การจะมีบ้านสักหลังหนึ่ง ควรจะพิจารณาอะไรบ้าง

ประการแรก ที่ดินที่จะปลูกบ้านควรอยู่ในทำเลที่มีการคมนาคมสะดวก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เมื่ออยู่แล้วจะไม่ถูกรบกวนจากมลภาวะต่างๆ เช่น เสียงดัง กลิ่น หรือควัน ซึ่งจะทำให้บ้านไม่น่าอยู่อาศัย

เมื่อเลือกที่ดินในทำเลที่ถูกใจแล้ว ควรตรวจสอบว่าที่ดินนั้นอยู่ในข่ายที่จะถูกเวนคืนหรือไม่ เพื่อความมั่นใจ เช่น ตรวจสอบกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยกรณีการก่อสร้างทางด่วน ตรวจสอบกับกรุงเทพมหานคร หรือกรมโยธาธิการซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการตัดถนนในเขตกรุงเทพฯ ส่วนถนนในต่างจังหวัด อาจสอบถามได้จากเทศบาลจังหวัดหรือกรมทางหลวง ขึ้นอยู่กับประเภทถนนว่าเป็นทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด หรือทางหลวงท้องถิ่น ( ตาม พรบ.ทางหลวง พ.ศ.2535 )เมื่อตรวจแล้วว่าที่ดินไม่อยู่ในเขตเวนคืน สิ่งต่อไปที่ควรจะตรวจสอบคือ ที่ดินนั้นมีน้ำประปา ไฟฟ้า และโทรศัพท์หรือไม่ นอกจากนั้นควรตรวจสอบเรื่องการปรับสภาพที่ดิน เช่น ที่ดินนั้นต้องถมให้สูงขึ้นหรือไม่ เพื่อจะได้เผื่องบประมาณ และเวลาสำหรับงานดังกล่าว

เมื่อเลือกทำเลที่ดินได้แล้ว ก็กำหนดงบประมาณโดยรวมการตกแต่งกรณีที่ต้องกู้เงินปลูกบ้าน ควรจะมีเงินสำรองไว้จำนวนหนึ่ง และกู้บางส่วน เพราะการอนุมัติเงินกู้ขึ้นอยู่กับรายได้ของครอบครัว และความสารถในการผ่อนชำระคืนเงินกู้เป็นหลัก ซึ่งอาจจะไม่เต็มวงเงินกู้ที่ต้องการ ข้อสำคัญ ต้องให้สมาชิกในครอบครัวที่จะอยู่ด้วยกันมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยก็จะดีที่สุด



2. เลือกแบบบ้านอย่างไรดี จึงจะเหมาะสม

1. บ้านทรงไทย
บ้านทรงไทยส่วนใหญ่มีหลังคาเป็นทรงจั่ว มีความลาดเอียงมาก เพื่อให้น้ำฝนระบายได้เร็ว พื้นที่ใต้หลังคาทำหน้าที่ช่วยลดความร้อน บ้านไทยนิยมมีส่วนเปิดหรือลานโล่งอยู่กลางบ้าน หน้าต่างเป็นบานเปิดคู่ยาว มีใต้ถุนสูง ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ใช้เลี้ยงสัตว์ เป็นที่ถ่ายเทอากาศ และยังช่วยหนีน้ำท่วมได้ด้วย

2. บ้านทรงต่างชาติ
เช่น บ้านทรงโรมัน บ้านทรงสเปน เป็นต้น เป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะประจำชาตินั้นๆ เช่น บ้านทรงโรมันมีลักษณะเด่นคือ การใช้เสาที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีสัดส่วนที่แน่นอนโดยนำประติมากรรมมาร่วมประดับอาคารด้วย บ้านสไตล์นี้จะไม่ค่อยเน้นรูปทรงหลังคา แต่จะเน้นที่ลวดลายประดับ ความยิ่งใหญ่ และความสง่าผ่าเผยของอาคารเป็นหลัก

3. บ้านทรงโมเดิร์น
เป็นบ้านที่เกิดจากแนวคิดในการสร้างบ้านที่มีลักษณะเรียบง่าย แตกต่างจากบ้านแบบอื่นๆ ที่มีความหลากหลาย และมีรายละเอียดที่ซับซ้อน ไม่ยึดติดรูปแบบที่แน่นอน บ้านโมเดร์นจะใช้รูปทรงเรขาคณิตในการออกแบบ และเน้นรูปทรงโดยรวมของอาคารทั้งหลัง ตัดลวดลายประดับตกแต่งออกไป การใช้สีสันที่สดใสก็เป็นตัวแทนอีกอย่างหนึ่งของบ้านโมเดิร์นเช่นกัน

4. บ้านทรงร่วมสมัย
ซึ่งเป็นแบบบ้านที่พบเห็นโดยทั่วไป ส่วนใหญ่มีรูปทรงที่เรียบง่าย และนำประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบ บ้านจึงมีลักษณะหลากหลายแปลกตา ไม่มีรูปแบบตายตัวมากำหนด ทำให้บ้านแบบนี้เป็นที่นิยมอยู่เสมอ





บ้านแต่ละแบบก็มีความสวยงามเฉพาะตัว แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการจัดวางแปลนหรือองค์ประกอบการใช้ประโยชน์ของบ้าน โดยทั่วๆไปควรปรึกษาสถาปนิกผู้ออกแบบ เพื่อให้การใช้พื้นที่ เกิดประโยชน์สูงสุด และเหมาะสมต่อขนาด และความต้องการของผู้อยู่อาศัย
3. หากจะสร้างบ้านสักหลัง จำเป็นต้องรู้กฎหมายหรือไม่ อย่างไร
ในฐานะเจ้าของบ้านที่ต้องสร้างบ้านเอง อย่างน้อยควรต้องรู้ข้อกำหนด และกฎหมายหลักๆ ดังนี้
1. สถานที่ที่ทำการปลูกสร้างจะต้องไม่เป็นที่ตาบอด คือ มีถนน คลอง หรือทางที่เข้าไปถึงที่ดินได้ และเป็นที่ดินที่แสดงหนังสือกรรมสิทธิ์
รูปแสดงสถานที่หรือผืนที่ดินที่ปลูกสร้างบ้านต้องไม่เป็นที่ตาบอด

2. อาคารอยู่อาศัยต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ชั้นที่มากที่สุด
3. ผนังด้านที่ติดกับที่ดินต่างเจ้าของ ต้องเว้นระยะจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 ซม. กรณีต้องการมีช่องเปิดหน้าต่างต้องห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร สำหรับอาคารสูงไม่เกน 9 เมตร และ 3 เมตร สำหรับอาคารสูงเกิน 9 เมตร

รูปแสดงผนังที่ติดเขตที่ดินต่างเจ้าของ ต้องเว้นระยะตามกำหนด

4. ต้องไม่มีส่วนก่อสร้างใดๆ ยื่นล้ำไปในที่ดินของผู้อื่น และต้องหาวิธีป้องกันน้ำจากชายคา ไม่ให้ไหลลงไปในที่ดินของบ้านข้างเคียง

รูปแสดง ต้องป้องกันน้ำจากชายคา ไม่ให้ไหลลงไปในที่ดินบ้านข้างเคียง

5. เจ้าของร้านที่กำลังก่อสร้าง ต้องรับผิดชอบความเสียหายของบ้านข้างเคียงที่เกิดจากการก่อสร้าง
6. แบบบ้านที่จะขออนุญาตทำการปลูกสร้าง ถ้าเป็นบ้าน 2 ชั้น ไม่ต้องให้วิศวกรออกแบบก็ได้
7. การยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ให้ยื่นคำร้องที่ที่ทำการเขตนั้นๆ พร้อมแบบพิมพ์เขียว 5 ชุด และรายการคำนวณ 1 ชุด เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ต้องสร้างอาคารให้แล้วเสร็จ หากไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ต้องยื่นต่ออายุใบอนุญาต เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วให้ก่อสร้างตามแบบ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแบบ ต้องยื่นขออนุญาตทำการเปลี่ยนแบบด้วย
4. ในการจัดวางห้องต่างๆ ภายในบ้านต้องคำนึงอะไรบ้าง

ก่อนที่จะกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ภายในบ้าน ควรสำรวจความต้องการพื้นฐานของครอบครัวก่อน โดยดูจากจำนวนสมาชิก และความเป็นอยู่ส่วนตัวของคนในครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้กำหนดได้อย่างเหมาะสมว่าบ้านควรจะมีห้องน้ำหรือห้องนอนกี่ห้อง ควรมีห้องอื่นๆ เช่น ห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น หรือห้องเด็กด้วยหรือไม่ เมื่อกำหนดห้องต่างๆ ได้ครบถ้วนแล้ว ก็พิจารณาต่อในเรื่องของการจัดวางห้องภายในบ้าน

การจัดวางห้องต่างๆ ภายในบ้าน ต้องคำนึงถึงเรื่องการถ่ายเทอากาศ และเรื่องทิศทางของแดดและลมด้วย ทั้งนี้เพราะประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากดินฟ้าอากาศมากตลอดทั้งปี เส้นทางเดินของดวงอาทิตย์ในประเทศไทยจะเริ่มจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก โดยอ้อมไปทางทิศใต้ ซึ่งแดดจะแรงในช่วงบ่าย ดังนั้นจึงควรจัดวางพื้นที่ใช้สอยหลักของบ้านเพื่อความสะดวกสบาย โดยควรวางตำแหน่งของห้องดังนี้

รูปแสดงการต้องดูทิศทางของแดด ลม ฝน

1. ห้องนอน ห้องพักผ่อน และห้องรับแขก ควรอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้ได้รับแดดในตอนเช้า และจะไม่ร้อนในช่วงบ่าย
2. ห้องอาหาร และห้องทำงาน ควรอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะห้องเหล่านี้เป็นส่วนของบ้านที่ไม่ต้องการให้รับความ ร้อนมาก
3. โรงรถ และห้องครัว ควรอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือส่วนที่เป็นหลังบ้านเพื่อความเป็นสัดส่วน และการถ่ายเทอากาศที่ดี
4. ห้องน้ำ หรือห้องซักล้าง ควรอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพราะความร้อนและแดดที่มาทางทิศตะวันตกจะช่วยให้ห้องน้ำแห้งอยู่เสมอไม่อับชื้น

รูปแสดง ต้องจัดพื้นที่ใช้สอยของบ้าน
5. เสาเข็มมีกี่ประเภท มีความสำคัญกับบ้านร้าว และบ้านทรุดอย่างไร

บ้านก็เหมือนกับต้นไม้ซึ่งต้องมีรกฐานแข็งแรง ทนทาน เสาเข็ม ถือเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างบ้าน เพราะมีหน้าที่รับน้ำหนักจากส่วนต่างๆของบ้าน การเลือกเสาเข็มอย่างเหมาะสม และการควบคุมการก่อสร้างอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในภายหลัง โดยทั่วไปเสาเข็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะ

    เสาเข็มตอก
    คือ เสาเข็มที่เห็นอยู่ทั่วไป มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆ มีหน้าตัดเป็นรูปเหลี่ยม กลม หรือตัวไอ ( I ) ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วใช้ปั้นจั่นตอกลงไปในพื้นดิน เสาเข็มคอนกรีตรูปหกเหลี่ยมกลวงเป็นเสาเข็มขนาดเล็ก จึงเหมาะที่จะใช้กับโครงสร้างขนาดเล็กๆ หรือไม่สำคัญนัก เช่น รั้ว ศาลพระภูมิ เป็นต้น ในอดีตใช้ไม้เป็นเสาเข็ม แต่เนื่องจากปัจจุบันไม้มีราคาแพง คัดขนาดหรือควบคุมคุณภาพได้ยาก อีกทั้งเสาเข็มไม้ผุพังได้ตามสภาพ ปัจจุบันจึงแบจะไม่ใช้ไม้กับบ้านที่พักอาศัยหรืออาคารต่างๆ


    เสาเข็มเจาะ โดยมากแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เสาเข็มเจาะแห้ง และเสาเข็มเปียก


เสาเข็มตอกและรอยต่อของเสาเข็ม

    เสาเข็มเจาะเปียกมักจะใช้ในการก่อสร้างอาคารใหญ่ ส่วนเสาเข็มเจาะแห้งนั้นจะใช้ในการปลูกบ้านหรืออาคารที่มีความสูงไม่มากนัก ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าเสาเข็มตอก จึงใช้ได้ดีกับการก่อสร้างในพื้นที่แคบๆ และทำให้เกิดการสั่นสะเทือนหรือการแตกร้าวของอาคารข้างเคียงน้อยกว่าเสาเข็มตอก แต่การใช้เสาเข็มเจาะแห้งนั้น จำเป็นต้องควบคุมคุณภาพการก่อสร้างมากว่าเสาเข็มตอก

เสาเข็มเจาะแห้งนั้นมีขั้นตอนการทำงานโดยเริ่มจากการกดปลอกเหล็กกันดินพัง ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับขนาดของเสาเข็มลงในตำแหน่งที่ต้องการเจาะเสาเข็ม โดยกดให้เลยชั้นดินอ่อน จากนั้นจึงทำการเจาะดินให้ได้ความลึกที่กำหนด แล้วจึงใส่เหล็กเสริม และเทคอนกรีตลงไป การควบคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้งนั้น ต้องตรวจสอบในขั้นตอนสำคัญๆ โดยเริ่มตั้งแต่ตรวจสอบตำแหน่งการลงปลอกเหล็กว่าถูกต้องหรือไม่ จากนั้นตรวจสอบดูว่ารูเจาะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ความลึก ขนาด และรูปร่างตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่ รวมทั้งตรวจดูเหล็กเสริมเสาเข็มว่ามีขนาด ปริมาณ และความยาวถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้หรือไม่ ที่สำคัญคือ ต้องตรวจสอบดินบริเวณก้นหลุมว่าไม่พังทลาย โดยสังเกตได้จากการที่ไม่มีน้ำทะลักเข้ามาในรูเจาะ ซึ่งอาจจะใช้วิธีส่องไฟดูบริเวณก้นหลุมก็ได้

วิธีการควบคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้งในเบื้องต้นนั้นก็คือ ตรวจสอบว่าปริมาณของคอนกรีตที่ใช้เทใกล้เคียงกับปริมาณของดินที่ถูกเจาะออกไป เพื่อให้แน่ใจว่ารูเจาะไม่พังทลายหรือบีบตัวเข้ามา ในการเทคอนกรีตนั้นโดยปกติคอนกรีตจะยุบตัวลงหลังจากที่ถอดปลอกเหล็กกันดินพังออก ดังนั้นจึงควรเทคอนกรีตโดยเผื่อการยุบตัวให้พอดี แล้วจึงถอนปลอกเหล็กนี้ต้องทำโดยดึงปลอกเหล็กขึ้นตรงๆ ในแนวดิ่งมิฉะนั้นเสาเข็มจะอยู่ในสภาพเอียงตามไปด้วย ทำให้เกิดปัญหาการรับน้ำหนักอาคารภายหลัง

โดยทั่วไปในการก่อสร้างบ้าน วิศวกรมักเลือกใช้เสาเข็มตอก เพราะตรวจสอบคุณภาพได้ง่าย และมีราคาถูกกว่าเสเข็มเจาะ แต่เสาเข็มตอกต้องการพื้นที่ในการทำงานกว้าง ไม่เหมาะกับการสร้างบ้านที่อยู่ในตอกพื้นที่แคบๆ เพราะไม่สามารถขนส่งเสาเข็มเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้างได้ การตอกเสาเข็มยังทำให้เกิดการเสียงดัง และเกิดแรงสั่งสะเทือน ซึ่งอาจทำให้บ้านที่อยู่ติดๆกันแตกร้าว หรืออาจทำให้เกิดอันตรายจากอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน เช่น ปั้นจั่นล้ม หรือเสาเข็มหลุดร่วงขณะยกขึ้นก็ได้ ในกรณีที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่หรืออาคารใกล้เคียง ก็อาจจำเป็นต้องเลือกเสาเข็มเจาะที่มีราคาแพงกว่า ซึ่งต้องมีการควบคุมคุณภาพ และต้องระวังความสกปรกเลอะเทอะจากดินที่ขุดขึ้นมาในการทำรูเสาเข็ม

โดยทั่วไปการเลือกใช้เสาเข็มและการตอกเสาเข็ม จะเป็นไปตามที่วิศวกรผู้ออกแบบบ้านได้กำหนดไว้ รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเสาเข็มสามารถดูได้จากแบบพิมพ์เขียว สิ่งสำคัญก็คือ ดูให้มั่นใจว่าเสาเข็มมีจำนวนครบถ้วน มีขนาดและความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเสาเข็มแต่ละต้นอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ชำรุด หากพบรอยร้าวหรือความเสียหายควรปรึกษาวิศวกรว่าเสาเข็มนั้นยังสามารถนำไปใช้ได้หรือไม่

การกองเสาเข็มตอกนั้นจะต้องมีไม้รองรับตรงจุดที่ออกแบบไว้ ซึ่งจะห่างจากปลายทั้งสองด้านประมาณหนึ่งในห้าของความยาวเสาเข็ม และควรตรวจดูวันที่ผลิต ซึ่งสามารถดูได้ที่ตัวเสาเข็ม เสาเข็มควรมีอายุอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 7 วัน และต้องมั่นใจว่า เสาเข็มที่ตอกลงไปในดินทุกต้นนั้นไม่หักระหว่างการตอก บางครั้งในการก่อสร้างก็อาจจำเป็นต้องต่อความยาวของเสาเข็มให้ได้ตามกำหนด การต่อเสาเข็มตอก มี 2 วิธี คือ

คุณภาพและวิธีการกองเก็บเสาเข็ม

    การต่อปลอก
    คือ การต่อเสาเข็มโดยการใช้ปลอกเหล็กที่มีขนาดพอเหมาะกับขนาดของสาเข็ม โดยปลอกที่ใช้จะต้องมีความยาวเพียงพอที่จะบังคับไม่ให้เสาเข็มหลูดออกจากกันขณะที่ทำการตอกและขณะใช้งานรับน้ำหนักอาคาร ปัจจุบันไม่นิยมต่อเสาเข็มโดยการใช้ปลอกเหล็ก เพราะมีความเสี่ยงสูง

    การต่อเชื่อมด้วยไฟฟ้า
    คือ การต่อเสาเข็มที่มีแผ่นเหล็กติดอยู่ที่หัวเสา ซึ่งมีไว้เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อเสาเข็มเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ต้องควบคุมการเชื่อมต่อให้รอยเชื่อมรอบเสาเข็มและหน้าสัมผัสของเสาเข็มที่ต้องการต่อแนบกันอย่างสนิท และหากไม่สนิท ต้องนำแผ่นเหล็กบางๆ มาหนุนเสริม
    สิ่งสำคัญก็คือ เสาเข็มที่รับน้ำหนักโครงสร้างของพื้นทั้งหมดต้องมีความยาวเท่ากัน ปลายเสาเข็มต้องอยู่บนชั้นดินแข็ง และไม่ควรใช้เสาเข็มต่างชนิดกันในอาคารหลังเดียวกัน